Archive for Cloud Computing and Applications
4 ปัจจัยหลักที่ทำให้บริษัทมียอดขายที่เพิ่มขึ้นได้ 1. การเพิ่มจำนวนของดีล เช่น ตอนนี้มี 5 ดีล หาเพิ่มอีก 5 ดีล 2. การเพิ่มมูลค่าของดีล เช่น หาดีลที่มีมูลค่าที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่นจากเดิม 100,000 บาท ก็เป็น 200,000 บาท 3. ลดระยะเวลาที่จะปิดดีลหนึ่งๆ เช่น เดิมใช้เวลา 2 เดือน ก็พยายามปิดให้ได้ 1 เดือน ในกรณีนี้เซลล์ควรรู้ระยะเวลาโดยเฉลี่ยของการปิดดีลที่ชนะ 4. อัตราส่วนของการปิดดีลที่ชนะ ถ้าเรารู้ว่าเรามีค่าการปิดการขายที่ชนะเท่าไหร่ จะทำให้เรารู้ถึง performace ของตัวเอง และทำให้เราประมาณการได้ว่า ควรจะมีจำนวนดีลรวมหรือมูลค่าดีลรวมเท่าไหร่ ถึงจะเพียงพอสำหรับการ achieve sales targets ตัวอย่างเช่น Sales A มี Close ratio (won) at 10% ทั้งแบบจำนวนดีลและแบบมูลค่าของดีล ดังนั้นถ้า Sales [...]
เป็นอีกวิวหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะมันสามารถทำให้พนักงานขายเห็นว่า ลูกค้าหรือเป้าหมายคนไหนควรได้รับการติดต่อแล้วหรือยังในช่วงเวลาที่พนักงานขายกำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น พนักงานขายกำหนดไว้ว่าควรจะต้องติดต่อกับลูกค้าหรือเป้าหมายให้ได้อย่างน้อยเดือนละครั้ง Contact Timeline ของ Pipedrive ก็จะสามารถค้นหาได้ว่ามีลูกค้าหรือเป้าหมายไหนที่ยังไม่ได้รับความสนใจหรือติดต่อภายใน 1 เดือน ดังนั้นมันก็จะอำนวยความสะดวก ทำให้พนักงานขายสามารถค้นหารายชื่อของลูกค้าหรือเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย นอกจากนั้นยังทำให้พนักงานขายไม่พลาดที่จะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าหรือเป้าหมาย บางครั้งโอกาสก็อาจจะมาจากการที่เราได้ติดต่อกลับไปยังลูกค้าเดิมหรือเป้าหมายใหม่ เราลองมาดูวิธีการใช้งาน Contact Timeline และหน้าตาของมันว่าเป็นอย่างไรตามภาพด้านล่างนี้ จะเห็นว่ามันเป็นวิวที่มีประโยชน์ ให้เราห็นภาพของลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการติดต่อตามข้อกำหนดได้อย่างรวดเร็ว นอกเหนือจากนั้นเรายังสามารถคลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ หรือคลิกเพื่อเพิ่มรายละเอียดได้ Pipedrive เป็นเครื่องมือที่ช่วยพนักงานขายอย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะการนำเสนอเป็นแบบ visual view สามารถทำงานแบบ drag and drop และคลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่ม (drill down) ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ (081) 823 2988 หรือ email at sujit.c@uncsolutions.com
แน่นอนว่าแต่ละพนักงานขายจะมีเป้าหมายที่ถูกกำหนดจากบริษัทโดยอาจมีการกำหนดเป็นต่อปี ต่อไตรมาส หรือต่อเดือน พนักงานขายเองก็จะทำการสำรวจตัวเองว่าตอนนี้ปิดดีล หรือมียอดขายที่ทำได้เป็นเท่าไหร่ เมื่อเปรียบเทียบกับยอดที่กำหนด เพราะมันหมายถึงผลงานและค่าคอมมิชชั่นของเซลส์ โดยปกติแล้วพนักงานขายก็จะนำเอาตัวเลขที่ขายได้ จากใบเสนอราคามาบันทึกลงไปในสเปรดชีต (Excel) แล้วทำการรวมค่า และเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด ก็จะรู้ได้ว่าณตอนนี้ ทำได้เท่าไหร่ เป็นสัดส่วนเท่าไหร่เมื่อเทียบกับเป้าหมาย Pipedrive มีเครื่องมือหนึ่งที่ใช้สำหรับการตั้งค่าเป้าหมายและการวัดผลของพนักงานขาย โดยที่ยูสเซอร์แต่ละคนจะสามารถตั้งค่าของตัวเองได้จาก “Setting” ดูจากภาพด้านล่างนี้เพื่อความเข้าใจอย่างง่าย โดยสรุปอย่างย่อ สำหรับวิธีการตั้งค่าเป้าหมายเพื่อวัดผล 1 คลิก Setting 2 คลิก Add Goal แล้วทำการตั้งเป้าหมายที่ต้องการจะวัดผล 3 คลิก Save ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ (081) 823 2988 หรือ email at sujit.c@uncsolutions.com
จุดเด่นของ Pipedrive (Sales CRM) คือ ความง่าย (Simple) แต่ได้ผล (Effective) เราได้รวบรวมจุดเด่นของ Pipedrive เป็นดังต่อไปนี้ 1. ใช้งานง่าย ถ้าใช้งาน Excel เป็น ย่อมใช้งาน Pipedrive เป็นอย่างแน่นอน การใส่ข้อมูลก็จะเป็นแบบตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย สามารถเรียนรู้ได้เอง (natural learning) ไม่มีความจำเป็นต้องมีคู่มือการใช้งาน (manual) 2. Pipedrive เป็น Sales CRM ที่จะเหมาะมากที่จะนำไปใช้กับทีมขายหรือพนักงานขาย โดยเฉพาะทีมที่ติดต่อกับลูกค้าเป็นประจำ และมีกิจกรรมที่ต้องทำกับลูกค้าอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปิดการขาย เช่น โทรหา ส่งใบเสนอราคา ส่งข้อมูล ไปพบ ประชุม ทำเดโมหรือทดลองสินค้า พรีเซนต์ ทานข้าว เป็นต้น เพราะว่า Pipedrive จะมี Activity view ที่คล้ายกับ Calendar view และเราสามารถจะใส่นัดหมายต่างๆลงไป รวมทั้งสามารถกำหนดการแจ้งเตือนผ่านอีเมล์หรือมือถือ [...]
แน่นอนว่าการที่จะเป็นพนักงานขายที่ประสพความสำเร็จ เป็นที่ชื่นชมของบริษัท เซลล์ก็ย่อมที่จะต้องทำยอดขายให้ได้ตามที่หัวหน้างานหรือบริษัทต้องการ ดังนั้นมันน่าจะดีถ้าเซลล์มีตัวช่วยให้เค้าติดตามได้ว่า ณตอนนี้เซลล์ปิดการขายไปได้แล้วกี่ดีล ทั้งในแง่ของจำนวนและมูลค่า มันจะทำให้เซลล์รู้ว่าต้องขายอีกเท่าไร่เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย (achieve goal) Piedrive จะมีรีพอร์ทส่วนหนึ่งที่แสดงจำนวนหรือมูลค่าดีลที่ชนะและแพ้ เราจะเรียกมันว่า Sales Performance Report ลองมาดูภาพด้านล่างนี้เพื่อความเข้าใจอย่างง่าย ภาพแรก เป็นรีพอร์ทแสดงดีลที่ชนะของ Pipeline for Services ในช่วงเวลาที่เลือกซึ่งก็คือปีนี้ บริษัทสามารถรู้ได้เลยว่าพนักงานขายแต่ละคนมีดีลที่ชนะจำนวนและมูลค่าทั้งหมดเท่าไหร่ และยังรู้ว่าดีลที่ชนะแต่ละดีลใช้เวลาโดยเฉลี่ยอยู่ที่เท่าไหร่ มันทำให้พนักงานขายรู้ได้ว่าควรจะต้องปิดการขายอีกเท่าไหร่เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย และสามารถคาดคะเนเวลาโดยเฉลี่ยที่สามารถจะใช้ปิดดีล (avergae sales cycle time) ภาพสอง เป็นรีพอร์ทแสดงดีลที่แพ้ใน Pipeline for Services และในช่วงเวลาที่เลือกซึ่งก็คือปีนี้ บริษัทสามารถเรียนรู้ได้ว่าพนักงานขายแต่ละคนมีดีลที่ไม่ชนะในจำนวนและมูลค่าทั้งหมดเท่าไหร่ และยังรู้ว่าดีลที่แพ้แต่ละดีลใช้เวลาโดยเฉลี่ยอยู่ที่เท่าไหร่ นอกจากนั้นบริษัทยังคลิกดูที่เหตุผลของการไม่ชนะว่าเป็นเพราะอะไร เพื่อไว้ใช้สำหรับปรับปรุงการขาย หรือมองหาวิธีที่จะลดการแพ้ให้น้อยลง จะเห็นว่า Sales Performance Report เป็นรีพอร์ทที่มีความสำคัญต่อพนักงานขายและต่อบริษัทมาก เพราะมันแสดงถึงจำนวนดีลที่ชนะและยอดขายของพนักงานขายแต่ละคน ยอดขายรวมทั้งหมดของเซลล์ก็จะเป็นยอดขายของบริษัท ซึ่งแน่นอนว่าบริษัทก็จะรู้ได้ถึงรายรับขององค์กรในแต่ละเดือน แต่ละไตรมาส และภายในปีที่กำลังทำงานอยู่ การที่บริษัทมีเครื่องมือที่ดีอย่างเช่น Pipedrive ซึ่งเป็น Sales [...]
จากบทความที่แล้ว เราได้เรียนรู้จากรายงาน (Reports) ที่แสดงกิจกรรมของยูสเซอร์แต่ละคนในแต่ละเดือน เมื่อเราเลือก Pipeline และ ช่วงเวลาเป็น “Pipeline for Services” and “This Year” บทความนี้เรามาดูกันต่อ สำหรับรายงานของหัวข้อที่2 ซึ่งก็คือรายงานแสดงผลของดีลที่เปิดทั้งหมดและความเคลื่อนไหวของดีลต่างๆของเซลล์แต่ละคน และรายงานแสดงผลของดีลที่เปิดทั้งหมดและความเคลื่อนไหวของดีลต่างๆของเซลล์ทั้งหมดที่ใช้ Pipedrive โดยทั่วๆไปดีลแต่ละดีลจะเคลื่อนไหวไปตามขั้นตอนการขาย (sales stgae) ตามที่บริษัทได้กำหนดใน Pipeline เช่น เริ่มต้นจากการมีลีด (lead in) ติดต่อลูกค้า พิจารณาว่าสามารถจะเป็นลูกค้าได้ไหม (qualified prospect) การมองหาความต้องการของลูกค้า (need defied) เป็นต้น พนักงานขายควรที่จะมองหาลีดที่เป็นไปได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และทำการติดต่อหรือทำกิจกรรมกับลีด และเปลี่ยนลีดนั้นให้เป็นลูกค้าของบริษัท ดังนั้นการที่ลีดมีความเคลื่อนไหวตามขั้นตอนการขาย (sales stage) และขึ้นไปอยู่ใน stage ที่ดีขึ้น นั่นก็หมายถึงโอกาสที่จะปิดการขายได้มากขึ้น (higher propbability) มันย่อมเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการทำงานของพนักงานขาย เรามาดูรูปภาพด้านล่างนี้เพื่อจะได้เห็นภาพอย่างง่ายสำหรับรายงานแสดงผลของดีล ภาพแรก เป็นรายงานแสดงผลของมูลค่าหรือจำนวนดีลที่สร้างขึ้นทั้งหมดใน Pipeline for Services [...]
อะไรที่บริษัทสามารถนำมาพิจารณาเป็นดรรชนี (index) ที่วัดการทำงานของพนักงานขายได้บ้าง พนักงานขายมักจะถูกวัดผลการทำงานจากยอดขาย โดยอาจวัดทุกเดือนหรือทุกไตรมาส นอกจากนั้นแล้วบริษัทยังมีการวัดการทำงานของเซลส์จากดรรชนี (index) อื่นๆอีกหรือไม่ อย่างเช่น กิจกรรมที่ทำกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นโทรไปหา ส่งใบเสนอราคา ไปเยี่ยม ทำเดโม (do demo) ส่งข้อเสนอ (submit proposal) ไปทานข้าวกลางวัน หรือ จำนวนดีลหรือโอกาสที่เปิดใหม่ (open deals) แต่ละบริษัทก็จะมีวิธีการวัดการทำงานของเซลล์ที่แตกต่างกัน รวมทั้งการกระตุ้นการทำงานของพนักงานขาย และการแบ่งปันข้อมูลการขายระหว่างเซลส์ที่ไม่เหมือนกัน Pipedrive จะมีเครื่องมืออันหนึ่งที่ช่วยให้องค์กรเห็นความเคลื่อนไหวของกิจกรรมหรือดีลของเซลล์แต่ละคน โดยสามารถนำเสนอเป็นรายงาน (report) ได้ดังต่อไปนี้ 1. รายงานแสดงผลของกิจกรรมของเซลล์แต่ละคน หรือ รายงานแสดงผลของกิจกรรมของเซลล์ทั้งหมดที่ใช้ Pipedrive 2. รายงานแสดงผลของดีลที่เปิดทั้งหมดและความเคลื่อนไหวของดีลต่างๆของเซลล์แต่ละคน หรือ รายงานแสดงผลของดีลที่เปิดทั้งหมดและความเคลื่อนไหวของดีลต่างๆของเซลล์ทั้งหมดที่ใช้ Pipedrive สำหรับหัวข้อที่ 1 เราจะแสดงให้เห็นอย่างง่ายจากรูปภาพด้านล่างนี้ ภาพแรก เป็นรายงานแสดงผลของกิจกรรมที่ได้สร้างขึ้น โดยจะแสดงผลของยูสเซอร์ทั้งหมดที่ใส่ข้อมูลใน Pipeline for Services ในช่วงเวลาที่เลือกซึ่งก็คือปีนี้ โดยปกติแล้วยูสเซอร์ที่เป็นแอดมินของระบบจะสามารถดูรายงานแสดงผลของแต่ละคนได้จาก Tab Statistics ในขณะที่ยูสเซอร์ทั่วไปจะดูได้เพียงรายงานของตัวเองจาก [...]
วัตถุประสงค์หนึ่งของบริษัท ย่อมต้องมีเรื่องของยอดขาย ซึ่งบริษัทจะทำอย่างไรให้มียอดขายเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยปกติแล้วบริษัทจะกำหนดยอดขายเป็นรายปี แล้วนำมาแบ่งย่อยเป็นรายไตรมาสหรือรายเดือน หลังจากนั้นก็จะทำการแบ่งย่อยลงไปให้เซลล์แต่ละคนดูแลยอดขายของตัวเอง โดยมีการรีวิวยอดที่ทำได้เป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส ขึ้นอยู้กับธุรกิจของบริษัท Pipedrive มีเครื่องมืออันหนึ่งที่สามารถช่วยให้บริษัทเห็นภาพรวมยอดขายของบริษัท หรือจะดูภาพรวมของยอดขายแต่ละคน ดังที่เห็นจากภาพด้านล่างนี้ เราเรียกมันว่า Forecast view เรายังสามารถดูรายละเอียดของดีลแต่ละดีลได้ โดยการคลิกเลือกดีลที่ต้องการดู เพียงเท่านี้บริษัทหรือผู้บริหารก็สามารถจะติดตามยอดขายในแต่ละเดือนได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส หมายเหตุ ยูสเซอร์ (user) แต่ละคนจะมีสิทธิ์ดูได้เพียง forecast view ของตัวเอง การที่จะดู forecast view ของคนอื่นต้องมีสถานะเป็น Admin หรือได้รับอนุญาติจาก users รายนั้น (followers) Pipedrive เป็นซอฟท์แวร์ที่อยู่บนระบบคลาวด์ที่มีการใช้งานได้ง่าย สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ทดลองใช้งานฟรี 30 วันโดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆทั้งสิ้น เพียงคลิกปุ่มด้านล่างนี้ ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ (081) 823 2988 หรือ email at sujit.c@uncsolutions.com
ในแต่ละวัน หรือแต่ละสัปดาห์ หัวหน้าทีมขายจะรู้ได้อย่างไรว่าพนักงานขายกำลังทำงาน โดยทั่วๆไปหัวหน้าทีมขายอาจจะถามเซลล์แต่ละคนว่า สัปดาห์นี้นัดพบลูกค้าใครบ้าง หรือทำอะไรบ้าง ซึ่งอาจจะเป็นแบบทางการคือมีประชุมเซลล์ หรือแบบไม่เป็นทางการคือถามทีละคนเป็นการส่วนตัว บางครั้งหัวหน้าทีมขายอาจมาแนวเป็นนักสืบ คอยเฝ้ามองหรือติดตามพฤติกรรมของลูกน้อง ซึ่งบางทีอาจทำให้ลูกทีมมาแนวหลบเลี่ยงได้เช่นกัน บางบริษัทอาจจะให้ลูกน้องหรือเซลล์แต่ละคนแชร์ตารางเวลา (schedule) ให้กับหัวหน้าฝ่ายขาย ทำให้หัวหน้างานสามารถดูแล หรือให้คำแนะนำก่อนที่ลูกน้องของตัวเองจะไปพบลูกค้า Pipedrive มีเครื่องมืออันหนึ่งที่สามารถช่วยเหลือหัวหน้าทีมขาย ให้รู้ตารางเวลาของพนักงานขายได้ไดยไม่จำเป็นต้องไปถามทีละคน เพียงเลือกแถบกิจกรรม (Activities Tab) บน Pipedrive เท่านี้หัวหน้าก็จะสามารถรู้กิจกรรมทั้งหมดของลูกน้องตัวเอง ลองดูภาพด้านล่างนี้เพื่อความเข้าใจมากขึ้น จากภาพด้านบน ลูกน้องจะต้องใส่ข้อมูลกิจกรรมที่จะทำไว้ใน Pipedrive ของตัวเองก่อน หลังจากนั้นหัวหน้าทีมขายก็จะสามารถรู้กิจกรรมของพนักงานขายแต่ละคนในสัปดาห์ที่เลือกไว้ได้ มันทำให้หัวหน้าทีมขายสามารถให้คำแนะนำกับลูกน้องแต่ละคนได้สำหรับกิจกรรม ดีล หรือลูกค้าในแต่ละราย เช่น วันพุธ ช่วง 10-11 โมงเช้า Manee Chanมีนัดหมายpresent กับบริษัท Day Dream หัวหน้างานก็สามารถให้คำปรึกษา หรือถามไถ่เพื่อที่จะทำให้งานบรรลุจุดประสงค์มากขึ้น หรือในกรณีที่หัวหน้างานมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับบริษัท Day Dream หัวหน้าก็จะสามารถช่วยเหลือลูกน้องในเรื่อง relationship กับลูกค้าได้ การที่หัวหน้างานทราบตารางกิจกรรมของลูกน้องก่อน มันน่าจะมีผลดีมากกว่าการที่หัวหน้างานทราบเพียงแค่ผลลัพธ์ของกิจกรรม หรือมารับรู้กิจกรรมที่ได้ทำไปแล้วของลูกน้อง [...]
Pipedrive มีเครื่องมือหนึ่งที่เราหรือบริษัทสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คิอ Web forms เราสามารถสร้างแบบฟอร์มออนไลน์จาก Pipedrive แล้วนำโค้ด (Code Snippet) หรือลิงค์ (Link) ไปใส่บนเวปไซด์ของบริษัท เพื่อให้ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของเราที่สนใจกรอกรายละเอียด แล้วกด submit หลังจากนั้นข้อมูลก็จะถูกส่งมาเก็บใน Pipedrive ในรูปแบบของดีล (Deals) ใน sales stage นั่นหมายถึงการลดขั้นตอนจากปกติเป็นเก็บข้อมูลลีดจากเวปไซด์ผ่าน forms แล้วนำข้อมูลลีดมาใส่ใน Pipedrive เป็น ข้อมูลลีดจากเวปไซด์ผ่าน forms ถูกนำมาเก็บที่ Pipedrive อัตโนมัติ ขั้นตอนการสร้าง Web forms ใน Pipedrive เป็นไปตามภาพและคำบรรยายด้านล่างนี้ 1) เลือก Settings 2) เลือก Web forms 3) กดสร้าง ฟอร์ม (forms) 4) [...]